A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

NEWS

    

“พิมพ์ภัทรา” เปิดศูนย์แปรรูปสมุนไพรยาเส้น เมืองนครศรี

“พิมพ์ภัทรา="430px"/

กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” โมเดลต้นแบบชุมชนเปลี่ยน โดยการปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) พร้อมเร่งขยายผลครอบคลุมชุมชน ทุกภูมิภาคภายในปีนี้

เมื่อเร็ว ๆ นี้นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” ณ กลุ่มพัฒนาอาชีพสมุนไพรยาเส้นบ้านเขาทราย ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เร่งพัฒนาชุมชนด้วยการผลักดันให้ธุรกิจชุมชนเติบโต มีทักษะด้านอุตสาหกรรมการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้เติบโตไปพร้อมกัน และการพัฒนาผู้นำทางธุรกิจที่เข้มแข็งเพื่อเชื่อมโยงกับธุรกิจในชุมชน โดยได้นำร่องในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” ณ กลุ่มพัฒนาอาชีพสมุนไพรยาเส้นบ้านเขาทราย ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล ถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการผลิต เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับเกษตรกรในชุมชน

ให้เกิดการดำเนินงานทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกลายเป็นชุมชนเปลี่ยน (Community Transformation) และสามารถต่อยอดสู่การเป็นชุมชนดีพร้อมที่มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยกำหนดเป้าหมายสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ภายในปี 2567

ด้านนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” เป็นโมเดลต้นแบบของชุมชนเปลี่ยน ซึ่งเกิดจากการทำงานสอดประสานกันระหว่างด้านเทคโนโลยี โดยกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงในด้านการยกระดับทักษะธุรกิจชุมชน ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) เพื่อสร้างชุมชนเปลี่ยน

และ ยังดำเนินกิจกรรม “การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการด้วยแนวคิดเชิงสร้างสรรค์” ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน โดยนำเศษวัสดุเหลือใช้ในชุมชน มาประยุกต์สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ปี 2567 วางเป้าหมายจำนวน 20 ชุมชนทั่วประเทศ