A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ARTICLES & ADVERTORIALS

    

No-Code โซลูชันที่เข้าถึงได้ง่ายสู่การพัฒนาสายการผลิตในยุคดิจิทัล





หากคุณสามารถสร้างเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือระบบการทำงานที่สะดวกสบายได้ด้วยตัวของคุณเอง คุณสามารถควบคุมหน้าจอด้วยการลากและวางอย่างง่าย ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม โดยที่ไม่ต้องมีทักษะด้านการเขียนโค้ดด้วยซ้ำ และการเปลี่ยนแปลงนี้จะพาคุณก้าวสู่การทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มารู้จักกับ 'No-Code' แพลตฟอร์มที่จะทำให้ธุรกิจเป็นเรื่องง่ายกัน

No Code โซลูชันที่เข้าถึงได้ง่ายสู่การพัฒนาสายการผลิตในยุคดิจิทัล


No-Code คืออะไร ?

No-Code คือ เครื่องมือสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านการเขียนโค้ด หรือ การพัฒนาโปรแกรมในระดับชำนาญ ผู้ใช้งานสามารถสร้างเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือระบบต่าง ๆ ได้ด้วยการลากวาง (Drag-and-Drop) องค์ประกอบต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม No-Code ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและลดความซับซ้อนของกระบวนการพัฒนา โดยเป้าหมายของ No-Code คือ การเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการพัฒนาเทคโนโลยีได้โดยไม่ต้องพึ่งพาทีม IT หรือนักพัฒนา


ความแตกต่างระหว่าง No-Code กับ Low-Code

ทั้ง No-Code และ Low-Code ต่างก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นและลดความซับซ้อนในการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน แต่ต่างกันตรงที่ความรู้ความชำนาญของผู้ใช้งาน ดังนี้

  • No-Code คนทั่วไปสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเขียนโค้ด เหมาะสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือระบบงานที่ไม่ซับซ้อน
  • Low-Code ทีมพัฒนาสามารถปรับแต่งแอปพลิเคชันตามความต้องการได้อย่างมีสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเขียนโค้ดบางส่วนสำหรับฟังก์ชันที่ซับซ้อน


    แพลตฟอร์ม No-Code อย่าง WordPress และ Shopify

  • WordPress เป็นแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะกับการสร้างเว็บไซต์อุตสาหกรรมที่ต้องการดีไซน์เฉพาะตัวหรือฟีเจอร์ที่ปรับแต่งได้ เช่น เว็บไซต์ข้อมูลบริษัท แค็ตตาล็อกสินค้า หรือระบบออเดอร์ B2B และ B2C ด้วยปลั๊กอินอย่าง WooCommerce และ Yoast SEO ทำให้ WordPress สามารถรองรับ E-Commerce และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ

  • Shopify เป็นแพลตฟอร์มที่เชี่ยวชาญด้านการขายสินค้าออนไลน์ เหมาะกับธุรกิจ E-Commerce และการค้าปลีกที่ต้องการระบบการขายครบวงจร ตั้งแต่การจัดการสินค้า การชำระเงิน ไปจนถึงการส่งสินค้า ใช้งานง่าย และรองรับการขยายตลาดสู่ระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสนับสนุนหลายภาษาและระบบการตลาดอัตโนมัติ


    ในภาคอุตสาหกรรม No-Code อาจกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนเกมการแข่งขันทางธุรกิจ โดยการพัฒนาระบบและโซลูชันให้กับกระบวนการหรือภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต No-Code ช่วยพัฒนาระบบติดตามและจัดการกระบวนการผลิตได้อย่างง่ายดาย เช่น การสร้างแดชบอร์ดเรียลไทม์เพื่อติดตามสถานะการผลิต ลดขั้นตอนซ้ำซ้อนในกระบวนการ และเพิ่มความแม่นยำ โดยใช้แพลตฟอร์มอย่าง Zapier หรือ 'Make' เพื่อเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เช่น ERP หรือ CRM

  • ลดต้นทุนและเวลาในการพัฒนาระบบที่ซับซ้อน เช่น ระบบสต็อกสินค้า การจัดการคำสั่งซื้อ หรือแอปพลิเคชันภายในองค์กร สามารถทำได้อย่างง่ายดายผ่านแพลตฟอร์ม Glide หรือ Notion จะช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

  • การปรับตัวในยุค Industry 4.0 โดยการสร้างระบบเก็บข้อมูลจาก IoT การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ และการพัฒนา Workflow Automation ผ่านแพลตฟอร์ม Power Automate หรือ Bubble ช่วยให้องค์กรลดเวลาหยุดชะงักและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

  • การสนับสนุนการทำงานร่วมกันในองค์กร แพลตฟอร์ม No-Code อย่าง Airtable หรือ Trello ช่วยให้ทีมงานสามารถจัดการโครงการหรือข้อมูลการผลิตร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ ลดความซับซ้อนในการสื่อสาร และเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดำเนินงานในองค์กร

  • การผสานรวมกับเทคโนโลยีล้ำสมัย No-Code รองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี AI และ IoT เช่น การพัฒนาระบบอัจฉริยะเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการผลิต หรือการสร้าง Workflow ที่ช่วยให้พนักงานทำงานร่วมกับ AI หรือ หุ่นยนต์ ได้อย่างราบรื่น


    10 โซลูชัน No-Code เพื่อพัฒนาสายการผลิต

    1. แดชบอร์ดการจัดการสินค้าคงคลัง - สามารถติดตามสินค้าคงคลังได้แบบเรียลไทม์ และจัดการสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. การรายงานการควบคุมคุณภาพ - มีระบบอัตโนมัติในการรวบรวมข้อมูลคุณภาพและการสร้างรายงานอัจฉริยะ
    3. การจัดตารางการบำรุงรักษา - สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เพื่อลดการหยุดทำงานของเครื่องจักรได้
    4. พอร์ทัลความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ - สามารถอัปเดตตารางการส่งมอบ ความพร้อมใช้งานของสินค้า และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความน่าเชื่อถือในห่วงโซ่อุปทาน
    5. การฝึกอบรมพนักงาน - สร้างโมดูลการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน ซึ่งประกอบด้วยวิดีโอ แบบทดสอบ และสถานการณ์จำลอง เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าใจกระบวนการใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น
    6. การทำงานอัตโนมัติในกระบวนการผลิต - ใช้ Workflow Automation เพื่อเพิ่มความเร็วและความแม่นยำในการผลิต ตลอตจนลดความซ้ำซ้อนในกระบวนการ
    7. รายการตรวจสอบความปลอดภัย - ช่วยลดความเสี่ยงในโรงงานด้วยแอปพลิเคชันตรวจสอบความปลอดภัยดิจิทัล และพนักงานสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างเป็นระบบ
    8. การจัดสรรทรัพยากร - เพิ่มความยืดหยุ่นและใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ในการบริหารจัดการทรัพยากร เช่น แรงงาน เครื่องจักร และวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    9. การติดตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ - รองรับการวิเคราะห์ข้อมูล ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบจนถึงการจัดจำหน่าย เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
    10. การเก็บรวบรวมความคิดเห็นลูกค้า - แพลตฟอร์มสำหรับเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้า ช่วยให้นำข้อมูลมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และตอบสนองความต้องการตลาดได้อย่างรวดเร็ว


    No-Code ทำให้การพัฒนานวัตกรรมที่ซับซ้อนต่าง ๆ นั้นง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเขียนโค้ดใด ๆ สามารถช่วยให้เห็นภาพกระบวนการและนำไปต่อยอดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลดเวลาและลดต้นทุนในด้านทรัพยากรอีกด้วย



    ขอบคุณที่มาโดย : Pisit Poocharoen. MM MODERN MANUFACTURING

    ขอบคุณภาพโดย : Rawpixel.com on Freepik

    บทความน่าสนใจ :
  • Ai9 พัฒนาแพลตฟอร์ม AI ช่วยถอดเสียงพูด และวิเคราะห์ข้อความอัตโนมัติ
  • SDR แพลตฟอร์มที่ช่วยลดปัญหาสัญญาณกระโดดของอุปกรณ์ IIoT

    อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม >> คลิกที่นี่