A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ADVERTORIALS

    

วิธีพิมพ์ 3 มิติแบบใหม่ ผลิตมือหุ่นยนต์พร้อมกระดูกและเอ็นได้ในทีเดียว





การพิมพ์ 3 มิติด้วยวัสดุพลาสติกโดยทั่วไปจะต้องใช้พลาสติกที่สามารถแข็งตัวได้เร็วเพื่อให้ชิ้นงานสามารถคงรูปทรงเอาไว้ได้ในระหว่างการพิมพ์ แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่มีการนำวัสดุโพลีเมอร์แบบแข็งตัวช้ามาใช้ในการพิมพ์ 3 มิติ วัสดุที่ได้จึงมีความยืดหยุ่นและความทนทานสูงขึ้น

-3--.jpeg


3D printed in one go: A robotic hand made of varyingly rigid and elastic polymers.
(Photograph: ETH Zurich/Thomas Buchner)



นักวิจัยจาก ETH Zurich และ Inkbit สตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกัน ได้พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติแบบใหม่เพื่อให้เครื่องพิมพ์สามารถรองรับโพลีเมอร์แบบแข็งตัวช้าได้ ทีมวิจัยใช้ เครื่องสแกนเลเซอร์ 3 มิติ ในการตรวจสอบแต่ละชั้นที่พิมพ์ลงไปทันทีเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของพื้นผิวและแก้ไขความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างการพิมพ์ด้วยการปรับปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยตัวเครื่องนั้นจะคำนึงถึงความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานอย่างต่อเนื่องเมื่อทำการพิมพ์ชั้นถัดไป

กระบวนการเช่นนี้ทำให้ทีมวิจัยสามารถพิมพ์มือหุ่นยนต์ที่มีกระดูก เอ็นกระดูก และเอ็นกล้ามเนื้อที่ทำจาก โพลีเมอร์ หลายชนิดในมือเดียวขึ้นมาพร้อมกันได้สำเร็จ ซึ่งเป็นไปไม่ได้หากเลือกใช้วัสดุโพลีเมอร์แบบแข็งตัวเร็ว แต่การใช้ Thiolene Polymers ที่แข็งตัวช้า มีคุณสมบัติความยืดหยุ่นสูง และคืนสภาพได้เร็วนั้นเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการผลิตเอ็นสำหรับมือหุ่นยนต์

วัสดุ Thiolene Polymers ยังสามารถปรับให้เหมาะแก่การใช้งานกับหุ่นยนต์แบบนิ่ม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้จากการทำงานร่วมกับมนุษย์ และยังเหมาะกับการจัดการกับสินค้าที่เปราะบางมากกว่ามือหุ่นยนต์ที่ทำจากโลหะอีกด้วย

การร่วมมือระหว่าง ETH Zurich และ Inkbit ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการผลักดัน เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น นอกจากนี้ ETH Zurich ยังคงมุ่งมั่นที่จะสำรวจความเป็นไปได้ของการใช้งานเทคโนโลยีใหม่นี้ให้มากขึ้นกว่านี้อีกด้วย


ขอบคุณที่มาโดย : Jirapat R. MODERN MANUFACTURING

ขอบคุณภาพโดย : ETH Zurich

บทความน่าสนใจ : REPLIQUE เปิดตัวแพลตฟอร์มฐานข้อมูลวัสดุพิมพ์ 3 มิติ ช่วยให้ผู้ใช้เลือกวัสดุได้ง่ายขึ้น

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม >> คลิกที่นี่