A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ADVERTORIALS

    

AI ช่วยลดความเสี่ยงในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างไร ?





ในแต่ละวันของภาคอุตสาหกรรมนั้นมีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน การใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ รวมถึงการดำเนินธุรกิจในภาพรวมของผู้ประกอบการ จึงมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยปรับใช้เพื่อลดและจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม

AI-.jpeg



5 ตัวอย่างที่ AI สามารถช่วยลดความเสี่ยงในโรงงาน ได้แก่

1. การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance)

โดยทั่วไปโรงงานมักมีการดูแลเครื่องมือเครื่องจักรเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีเรื่องที่เหนือความคาดหมายเกิดขึ้น ทำให้เครื่องจักรในสายการผลิตต้องหยุดทำงานลง นำไปสู่ความล่าช้าและการสูญเสียต้นทุนเพื่อซ่อมบำรุงความเสียหายที่เกิดขึ้น AI สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลจาก เซนเซอร์ เครื่องจักร และบันทึกการบำรุงรักษาในอดีต ช่วยคาดการณ์ปัญหาของอุปกรณ์ล่วงหน้าได้ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง อีกทั้งยังช่วยให้โรงงานลดความเสี่ยงในการผลิตและลดการเกิด Downtime ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิตในโรงงาน (Production line Optimization)

สายการผลิตที่มีประสิทธิภาพต้องใช้ข้อมูลมหาศาลจากทั่วทั้งโรงงานเพื่อให้การทำงานในแต่ละส่วนสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาลในแต่ละวันนั้นช่วยให้โรงงานปรับแต่งสายการผลิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดความผิดพลาดในการทำงาน และขยายพื้นที่ทำงานได้ง่าย

3. สร้างความปลอดภัยในการทำงาน (Workplace Safety)

เทคโนโลยียุคใหม่อย่าง AI สามารถ เสริมความปลอดภัยในโรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์สวมใส่ กล้องวงจรปิด หรือเซนเซอร์ ที่ใช้ AI มาช่วยตรวจจับสถานการณ์อันตรายและคาดการณ์อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ปลอกแขนสำหรับการตรวจสอบสมรรถภาพร่างกาย หรือ AI ที่ช่วยตรวจสอบและป้องกันอาการอย่างฮีทสโตรก

4. ควบคุณคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Product Quality Control)

ปัจจุบัน AI สามารถตรวจสอบและตรวจจับข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้ลดการเรียกคืนผลิตภัณฑ์และลดการร้องเรียนจากลูกค้าลงไปได้มาก

5. ลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

หลายภาคส่วนอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลกันมากขึ้น ทำให้มาตรการป้องกันความปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกโรงงานต้องมี ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายแห่งจึงนำโซลูชัน AI ที่สามารถวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลเครือข่ายภายในระบบ ระบุความผิดปกติและตรวจจับช่องโหว่หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้แบบเรียลไทม์มาใช้งาน ซึ่งระบบ AI เหล่านี้ก็จะช่วยปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับในสายการผลิตหรือของลูกค้าเอง


ตามที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในความสามารถของเทคโนโลยี AI ที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำมาปรับใช้เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและยกระดับความปลอดภัยให้กับองค์กรและภาคอุตสาหกรรมให้ดำเนินต่อไป


ขอบคุณที่มาโดย : Jirapat R. MODERN MANUFACTURING

ขอบคุณภาพโดย : Freepik

บทความน่าสนใจ :
  • 3 เทรนด์ระบบอัตโนมัติที่น่าจับตามองในปี 2023
  • 5 ตัวอย่างการใช้ AI ในการผลิตที่เกิดขึ้นจริง
  • Miniature Robot หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ไม่จิ๋วตามขนาด

    อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่