A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ADVERTORIALS

    

3 เทรนด์ระบบอัตโนมัติที่น่าจับตามองในปี 2023





ในการทำงานภาคอุตสาหกรรมสิ่งที่เสริมการทำงานหรือเป็นกำลังสำคัญแทนแรงงานมนุษย์ได้เป็นอย่างดีนั้น แน่นอนว่าทางเลือกอย่าง ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ โคบอท และ AI เป็นตัวช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลายบริษัทต่างนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นทุกวัน ธุรกิจที่ต้องการความก้าวหน้ามั่นคงต้องคอยติดตามเทรนด์ของระบบต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในในอนาคต

dWF8pil.jpeg



‘ระบบอัตโนมัติ’ อนาคตของธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลก

ระบบอัตโนมัติ เริ่มเข้ามาในภาคอุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่ช่วงปี 1900 และมีบทบาทในการทำงานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคธุรกิจทั่วไป ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ไปจนถึงในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ระบบอัตโนมัติเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เข้ามากำหนดทิศทางของภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องปรับตัวและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอยู่เสมอ


เทรนด์ระบบอัตโนมัติในปี 2023 ได้แก่

1. Collaborative Robot (Cobot)
ผู้ผลิตและผู้ประกอบการหลายแห่งให้ความสนใจกับหุ่นยนต์ที่ได้รับการออกแบบมาให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย หรือ ‘Collaborative Robot’ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า 'Cobot' ด้วยระบบที่มีการป้องกันอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ใกล้กับ Cobot นั้นเอง ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งรั้วป้องกันรอบ ๆ เหมือนหุ่นยนต์โรบอทขนาดใหญ่ทั่วไป ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการทำงานขึ้นได้เป็นอย่างมาก อีกทั้ง Cobot ยังนำมาประยุกต์รวมเข้ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย เช่น ระบบ Random Bin Picking ที่มีการใช้ระบบ Machine Vision มาทำงานร่วมกับ Cobot ในการหยิบจับ Pick and Place วัตถุต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ

ด้วยความปลอดภัยและการออกแบบที่คำนึงถึงความยืดหยุ่นและง่ายต่อการใช้งาน ทำให้ Cobot มักนำมาใช้ควบคู่กับมนุษย์ในสายการผลิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตชิ้นงานขนาดใหญ่อย่างการประกอบรถยนต์ การบรรจุสินค้า รวมถึงการผลิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอย่าง Smart Watch ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าตลาดของหุ่นยนต์ Cobot จะมีการเติบโตขึ้นจากมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 ขึ้นสูงถึง 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2028 และจะเข้ามามีบทบาทในบริษัทขนาดใหญ่ ไปจนถึงบริษัทระดับ SMEs


dWFHzwy.jpeg



นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 จำนวนการใช้งานของ หุ่นยนต์ Cobot จะมีมากถึง 30% ของจำนวนการใช้งานหุ่นยนต์ทั้งหมดในโลก หมายความว่าในอนาคตคงจะได้เห็นหุ่นยนต์ Cobot เข้ามาทำงานควบคู่ไปกับหุ่นยนต์โรบอทและมนุษย์มากขึ้นอย่างแน่นอน


2. Robotic Process Automation (RPA)
RPA เป็นระบบโรบอท IT Solution ที่ใช้การเลียนแบบและเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ และสามารถเข้ามาทดแทนการทำงานแบบซ้ำ ๆ หรืองานที่ต้องใช้เวลานานให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติได้ ด้วยการสร้างขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ในการทำงานของระบบ RPA ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และยังช่วยลดโอกาสผิดพลาดจากการทำงานลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ RPA ยังช่วยลดขั้นตอนในการจัดการเอกสาร การจัดการคลังสินค้า การบริหารจัดการซัพพลายเชน การจัดการข้อมูลด้านบัญชีและการเงิน ไปจนถึงการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อีกทั้งมี ระบบซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้จากหลายผู้ให้บริการ เช่น UiPath, Microsoft Power Automate หรือ Automation Anywhere


dWFHfhJ.jpeg



ข้อมูลจากเว็บไซต์ Fortune Business Insights ระบุว่าในปี 2022 ตลาดของระบบ RPA มีมูลค่าอยู่ที่ 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดการณ์ว่าในปีถัดไปตลาดของระบบ RPA จะเติบโตเกิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอาจสูงถึง 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว

ในภาคอุตสาหกรรมระบบ RPA ช่วยเสริมความเร็วการผลิตในแต่ละวันขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเห็นผลลัพธ์จากการลงทุน (ROI) ได้ภายในไม่กี่อาทิตย์ อีกทั้งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมากที่นำเอาเทคโนโลยีอย่าง AI, Machine Learning และ Cloud เข้ามาพัฒนาความสามารถของระบบ RPA เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบ RPA สามารถปรับใช้กับรูปแบบการทำงานได้อย่างหลากหลาย


3. Artificial Intelligence (AI)
ปัจจุบัน AI ก้าวเข้ามามีบทบาทในธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลแบบเฉพาะทาง หรือการคาดการณ์และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นต้น

dWFHPaS.jpeg



การใช้งาน AI ที่นิยมที่สุดสำหรับผู้ผลิตนั้น ได้แก่

  • Intelligent Maintenance เป็นการใช้ AI ในการคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ทำให้สามารถตรวจสอบ ป้องกัน และเตรียมรับมือกับปัญหาในสายการผลิตได้ทันท่วงที เป็นการสร้างมาตรการป้องกันเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อนแล้วค่อยแก้ไข

  • Product Quality Control ใช้ AI ในการตรวจสอบชิ้นงานจำนวนมาก ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความดันหรือความชื้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และยังทำงานได้อย่างต่อเนื่องและตอบสนองต่อการเปลี่ยนของข้อมูลได้แบบ Real-Time ช่วยในการควบคุมคุณภาพให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น

  • Demand Planning ระบบ AI ช่วยในการรวบรวมและวางแผนกำหนดจำนวนการผลิตสินค้าและคาดการณ์ความต้องการของตลาดเพื่อลดความสูญเสียจากการผลิตที่สูญเปล่าลง วางแผนทิศทางขององค์กร สร้างความโปร่งใสของข้อมูล ช่วยให้เข้าใจและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น


    เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติดังที่กล่าวมานี้กลายเป็นตัวกำหนดทิศทางที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ผู้ประกอบการทั่วโลกไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่หากต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต้องมีการลงทุนในเรื่องของระบบอัตโนมัติ มีการเรียนรู้ ปรับตัว พร้อมพัฒนาและอัปเดตเทรนด์อยู่เสมอ เพื่อที่จะตามโลกของการผลิตยุคใหม่ได้ทัน



    ขอบคุณที่มาโดย : Jirapat R. MODERN MANUFACTURING

    ขอบคุณภาพโดย : 3d rendering of industry 40 concept by Freepik , Rpa concept with screen and bright light by Freepik , Lifestylememory on Freepik , Macrovector by Freepik

    บทความน่าสนใจ :
  • AS/RS ระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ เพิ่มพื้นที่คลัง - ลดอุบัติเหตุการทำงาน
  • 5 ตัวอย่างการใช้ AI ในการผลิตที่เกิดขึ้นจริง
  • ‘SWIFTI CRB 1300’ โคบอทอุตสาหกรรม ความเร็วสูง แม่นยำ และปลอดภัย

    อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่