A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ADVERTORIALS

    

10 ตัวอย่างการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม





หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีการลงทุนและการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ลังสินค้า และในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นระบบอัตโนมัติที่สามารถตั้งโปรแกรมและเคลื่อนที่ได้ ทำให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนและลดของเสียอีกด้วย มาดูกันว่าประเภทและการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบต่าง ๆ มีอะไรบ้าง

10-7541e0ac8ade69df.jpeg



1. การประกอบและแยกชิ้นส่วน
การประกอบชิ้นส่วนจากเล็กไปใหญ่นั้นเป็นกิจกรรมที่เห็นได้ทั่วไปในการผลิต การประกอบดั้งเดิมที่ใช้มนุษย์นั้นต้องผสมผสานทั้งความแม่นยำ ความคล่องตัว การมองเห็นที่ละเอียดและรวดเร็ว ไปจนถึงความฉลาดในการดำเนินการ ซึ่ง หุ่นยนต์ จะมาช่วยทุ่นแรงได้ทั้งการประกอบหรือยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน เช่น การติดกาว หรือการขันสกรูต่าง ๆ

2. การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์
ในกระบวนการหล่อโลหะอย่าง Casting ที่ใช้ แม่พิมพ์ หรือร่องที่ขุดเป็นรูปทรง หุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่ฉีดโลหะเหลว Deburring, Grinding ไปจนถึงงานขัดผิวได้ด้วยเช่นกัน

3. หุ่นยนต์ทำความสะอาด
พื้นที่การผลิตต้องมีความสะอาดอยู่เสมอเพื่อให้ชิ้นงานที่ผลิตเสร็จแล้วคงไว้ซึ่งคุณภาพในระดับสูงสุด เช่นเดียวกับสุขอนามัยของผู้คนที่ทำงานในพื้นที่ หุ่นยนต์ทำความสะอาดสามารถฆ่าเชื้อ ดูดฝุ่น หรือทำความสะอาดเก็บเศษโลหะเล็ก ๆ ที่กระจายได้อัตโนมัติ ช่วยลดเวลาในการทำความสะอาดได้มากขึ้น

4. หุ่นยนต์สำหรับหยิบสิ่งของ
การหยิบจับสิ่งของโดยหุ่นยนต์นั้นไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นในงานคลังสินค้าหรือโลจิสติกส์เท่านั้น แต่การใช้งานในสายการผลิตเพื่อทำการหยิบจับชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญ และการใช้งาน AMR หรือ Autonomous Mobile Robot สามารถใช้งานได้ทั้งการเคลื่อนย้ายและการบูรณาการเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้นอีกด้วย

5. โลจิสติกส์และคลังสินค้า
นอกจากการหยิบจับใน คลังสินค้าหรืองานโลจิสติกส์ หุ่นยนต์ยังสามารถช่วยในการจัดหมวดหมู่ การจัดเรียง การติดลาเบล ไปจนถึงการขนย้ายหรือนำส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าก็สามารถใช้หุ่นยนต์ในการช่วยเหลือได้

6. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ
การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพมีความสำคัญอย่างมาก หากมีชิ้นส่วนที่ผิดพลาดหรือติดตั้งผิดตำแหน่งอาจส่งผลต่อชีวิตได้โดยตรง ซึ่งมนุษย์นั้นมีความแม่นยำในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ในขณะที่หุ่นยนต์อุตสาหกรรมสามารถทำได้ 99% การใช้หุ่นยนต์ติดกล้องช่วยตรวจสอบคุณภาพได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรอยแยก มิติขนาดของชิ้นงาน และคุณภาพการเคลือบ

7. การกัดขึ้นรูป
กิจกรรมการผลิตที่ต้องทำซ้ำ ๆ หรือจดจ่อสูงนั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานหุ่นยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Machine Tools ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Milling หรือ Laser Cutting ซึ่งนอกจากจะมีความแม่นยำสูงแล้ว สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทำงานได้เป็นระยะเวลายาวนานโดยมีความคาดเคลื่อนต่ำหากเปรียบเทียบกับความเหนื่อยล้าของแรงงานมนุษย์

8. การพ่นสีและการเคลือบ
การพ่นสีและการเคลือบ เป็นกระบวนการในการตกแต่งและปกป้องชิ้นงาน การเคลือบหรือพ่นสีที่ดีจะต้องมีความหนาที่เหมาะสมกับชิ้นงานและการใช้งาน ทั้งยังต้องมีความสม่ำเสมอทั่วกันตลอดชิ้นงาน โดยทั่วไปแล้วในการเคลือบจะมีทั้งการจุ่มชิ้นงานและการพ่นเคลือบบาง ๆ ซ้ำไปซ้ำมา การใช้หุ่นยนต์ในงานเหล่านี้ทำให้แรงงานเกิดความปลอดภัยในการอยู่ใกล้กับสารเคมีและทำให้ชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพสูงกว่าอีกด้วย

9. บรรจุภัณฑ์และงานพาเลท
งานบรรจุภัณฑ์ และการจัดวางพาเลทเป็นงานที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะการผลิต คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า หุ่นยนต์ที่ผลิตกล่องหรือบรรจุภัณฑ์จะต้องผลิตให้ได้หลายขนาดตามความต้องการและจัดเรียงอยู่บนพาเลทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10. งานเชื่อมวัสดุ
หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมวัสดุ นั้นมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน ไปจนถึงการผลิตเครื่องมือแพทย์ เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ และลดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ



ขอบคุณที่มาโดย : Thos. MODERN MANUFACTURING , Analytics Insight

ขอบคุณภาพโดย : User6702303 on Freepik

อ่านบทความเพิ่มเติม :
  • ‘evoBOT’ หุ่นยนต์ AMR 2 ขา ผู้ช่วยขนย้ายในคลังสินค้า
  • ‘หุ่นยนต์ประกอบ’ ศักยภาพในการสร้างโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่และมูลค่าสูง

    อ่านบทความเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่