A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ADVERTORIALS

    

3 กรรมวิธีบรรจุเครื่องดื่ม





รู้หรือไม่ ? ขวดบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่น้ำผลไม้ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ ผ่านการบรรจุมาแบบไหน การบรรจุร้อน เย็น ปลอดเชื้อ จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ?

ACSfFE.jpg




บรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้บรรจุน้ำผลไม้ มีหลายหลายชนิด เช่น กระป๋อง ซองหรือถุง ขวดแก้ว และขวดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้สินค้าเสื่อมคุณภาพเร็วจนเกินไป โดยปกติน้ำผลไม้จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรสชาติและคุณภาพของน้ำผลไม้ กรรมวิธีการบรรจุขวดน้ำผลไม้ มี 3 วิธี ดังนี้

การบรรจุร้อน (Hot Filling)
เป็นกรรมวิธีการบรรจุที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ นั่นทำให้เหมาะสำหรับน้ำผลไม้ที่มีความเป็นกรด ถือเป็นวิธียืดอายุของของเหลวภายในบรรจุภัณฑ์ การบรรจุร้อนจะผ่านการฆ่าเชื้อหรือพาสเจอร์ไรซ์ด้วยอุณหภูมิที่ 92-95°C และ บรรจุที่อุณหภูมิ 82°C หลังจากนั้นจะถูกนำมาทำให้เย็นด้วยการเคลื่อนผ่านละอองเย็น และถูกทำให้แห้งด้วยการเป่าลม แล้วจึงนำมาติดฉลากเพื่อทำการขนส่งต่อไป นั่นหมายความว่าวัสดุที่ผ่านการบรรจุร้อนนั้นต้องทนต่อสภาพความร้อนได้ดีเช่นกัน

ข้อดีของการบรรจุร้อน
1. ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อในการยืดอายุขัยของน้ำผลไม้สามารถเก็บได้นานในอุณหภูมิห้อง
2. ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือวัสดุกันบูดเพื่อรักษาความเป็นธรรมชาติของน้ำผลไม้
3. ตัวบรรจุภัณฑ์ไม่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีใดๆ
4. ระหว่างการผลิตและการบรรจุสามารถใช้งานได้กับน้ำผลไม้หลากหลายประเภท

ข้อเสียของการบรรจุร้อน
1. ใช้พื้นที่มากในกระบวนการผลิตและบรรจุ
2. เหมาะกับน้ำผลไม้ที่ทนความร้อนได้โดยไม่แปลงสภาพ

การบรรจุเย็น (Cool Filling)
บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่ใช้วิธีบรรจุเย็นนี้มักจำต้องมีการกระจายสินค้าแบบแช่เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 0-5°C โดยมีอายุขัยของสินค้าประมาณ 4-6 สัปดาห์ ระบบการบรรจุเย็นด้วยการแช่เย็นตลอดวงจรการกระจายสินค้าจะสามารถเก็บรักษารสชาติของน้ำผลไม้ไว้ได้ดี ทำให้รสชาติแทบจะไม่แตกต่างไปจากรสชาติดั้งเดิมเลย แม้ว่าของเหลวนั้นจะมีการแต่งกลิ่นหรือเติมสารปรุงแต่ง ไม่ว่าน้ำผลไม้จะเตรียมจากการคั้นผลไม้สด ๆ หรือเป็นการผสมจากน้ำผลไม้เข้มข้น พร้อมทั้งมีการเติมเยื่อ (Pulp) ซึ่งการกระจายสินค้าด้วยวิธีแช่เย็นจะช่วยเก็บกลิ่นและวิตามินต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าด้วยวิธีแช่เย็นนี้มีงบประมาณค่อนข้างสูง

ข้อดีของการบรรจุเย็น
1. มีระบบการผลิตและการบรรจุที่ได้รับการพัฒนา ทำให้ต้นทุนในการลงทุนเครื่องจักรต่ำ
2. มีโอกาสคืนทุนในระยะสั้น
3. มีคุณภาพสินค้าที่ดีทำให้ได้ราคาที่สูงตาม
4. สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อตัวสินค้าและตราสินค้า

ข้อเสียของการบรรจุเย็น
1. ต้องใช้ระบบการแช่เย็น ตลอดวงจรการกระจายสินค้า ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง
2. ต้องมี ระบบการจัดส่ง ที่รวดเร็ว มีความถี่ในการจัดส่งสูงและจำต้องมีประสิทธิภาพในการจัดส่งดี

ระบบการบรรจุแบบปลอดเชื้อ (Aseptic)
การบรรจุแบบปลอดเชื้อ คือ มีการฆ่าเชื้อในตัวสินค้าหรือน้ำผลไม้แยกออกจากตัวบรรจุภัณฑ์ที่ทำการฆ่าเชื้อในระหว่างการบรรจุและปิดผนึกตัวบรรจุภัณฑ์ โดยสินค้าสำเร็จรูปที่ได้จากการบรรจุแบบปลอดเชื้อจะสามารถวางขายได้โดยไม่ต้องแช่เย็นหรือที่เรียกว่า Shelf-Stable

การฆ่าเชื้อด้วยระบบการบรรจุแบบปลอดเชื้อ (Aseptic) เป็นการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงแต่ใช้เวลาสั้น (High Temperature Short Time) นั่นคือ ฆ่าเชื้ออย่างต่อเนื่องในขณะที่สินค้าเคลื่อนที่อยู่ (Continuous -Flow Heating) ทำให้ลดความสูญเสียของคุณภาพสินค้าและช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำผลไม้

ข้อดีของบรรจุแบบปลอดเชื้อ
1. ได้คุณภาพของอาหารสูง
2. ประสิทธิผลการส่งผ่านความร้อนสูง
3. แปรเปลี่ยนองค์ประกอบการฆ่าเชื้อได้ง่าย
4. ใช้กับวัสดุบรรจุภัณฑ์ได้หลายประเภท
5. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม่ต้องทนความร้อนสูง (ในกรณีใช้กับ H2O2)

ข้อเสียของบรรจุแบบปลอดเชื้อ
1. การลงทุนสูง
2. การปฏิบัติงานฆ่าเชื้อยุ่งยากสลับซับซ้อน
3. ถ้ามีส่วนผสมหลายประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน ต้องแยกกันฆ่าเชื้อ
4. ส่วนผสมอาหารที่เป็นชิ้นนั้นฆ่าเชื้อลำบาก ปัจจุบันนี้จำกัดอยู่ที่ขนาด 25 มม.

อย่างไรก็ตาม น้ำผลไม้ที่เก็บในอุณหภูมิต่ำจะให้รสชาติดีกว่าเก็บในอุณหภูมิสูง และหากลองสังเกตที่ตัวผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเลือกซื้อ จะเห็นถึงความแตกต่างของวิธีการบรรจุ ถ้าลองเปรียบเทียบกับการบรรจุขวดแบบทั่วไปซึ่งจะเป็นวิธีที่ใช้ความร้อนสูง จะพบว่าการบรรจุขวดแบบปลอดเชื้อโดยใช้ความร้อนในระยะเวลาที่สั้นกว่าปกตินั้น สามารถให้รสชาติ รสสัมผัสและสีของน้ำผลไม้ที่ดีกว่า รวมทั้งคุณค่าของสารอาหารจะถูกทำลายน้อยกว่า


ขอบคุณที่มาโดย OK Herbs , T.U PACK
ขอบคุณภาพโดย Shutter Stock