A comprehensive guide to manufacturers, distributors, and suppliers providing machinery, industrial equipment and automation system in Thailand.

ADVERTORIALS

    

ความสัมพันธ์ของระบบอัตโนมัติและ AI ในการผลิต





การใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การทำงานเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ไปจนถึงการทำงานได้ด้วยตัวเองแบบเต็มศักยภาพ การใช้งานระบบอัตโนมัตินั้นสามารถแบ่งลำดับขั้นการบูรณาการออกเป็น 5 ลำดับตามการมีส่วนร่วม

DUNdRZ.jpg




การแบ่งลำดับขั้น AI สำหรับกระบวนการอุตสาหกรรมนั้นอยู่ภายใต้มุมมองของการใช้ ระบบอัตโนมัติ มีพื้นฐานอยู่บน 2 มิติหลัก คือ ขอบเขตของงานระบบอัตโนมัติ (ตัวเลข, ความซับซ้อน, ระยะเวลา และอื่น ๆ) และบทบาทของมนุษย์ในกระบวนการเหล่านี้ แม้ว่าจะเป็นการจัดลำดับแบบคร่าว ๆ แต่ก็สามารถใช้ในการจำแนกขอบเขตที่หลากหลายของงานอุตสาหกรรมได้

จุดแข็งของเทคโนโลยี AI คือ การจัดการกับการใช้งานระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับทักษะในการประยุกต์และแก้ไขปัญหา หมายความว่าเทคโนโลยี AI เป็นกำลังหลักเบื้องหลังการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกระบวนการและการทำงานของอุตสาหกรรม การแยกแต่ละระดับขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถจัดการความซับซ้อนยุ่งยากของสถานการณ์ได้อย่างอัตโนมัติและแน่นอนว่าต้องเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง

ความสัมพันธ์ของระบบอัตโนมัติและ AI นั้น ขึ้นอยู่กับระดับของความอัตโนมัติหรือความต้องการในการใช้งาน ซึ่งจะสอดคล้องกับระดับความฉลาดของระบบที่จำเป็นต้องใช้ดำเนินการและความฉลาดของเทคโนโลยีที่ต้องการนั้นจะถูกรวมมาเป็น AI ซึ่งจะย้อนกลับไปตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานตั้งต้นนั้นเอง โดยแบ่งระดับการใช้งาน AI ในโรงงานออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ระดับ 0 ไร้ความอัตโนมัติ
    การควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรมทำงานผ่านการโปรแกรมแบบ If/Then แบบงานประจำ หรือเป็นการทำงานผ่านระบบอัตโนมัติแบบคลาสสิกและการควบคุมทางวิศวกรรม มักดำเนินการผ่าน Programmable Logic Controller (PLC) โดยไม่มี AI เข้ามาเกี่ยวข้อง กฎต่าง ๆ ระบุอย่างชัดเจนโดยมนุษย์ ความรับผิดชอบในการทำงานจึงเป็นของมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์สำหรับหยิบจับชิ้นงาน

  • ระดับ 1 มีการสนับสนุนในฟังก์ชันที่เลือกใช้เฉพาะ
    AI จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนหรือทำหน้าที่เป็นระบบช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น การรับหน้าที่ตีความข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือ ภาพจำนวนมาก หน้าจอควบคุมการทำงานที่มี AI ก็สามารถลดการเกิดความผิดพลาดในการทำงานของมนุษย์ไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการคาดการณ์และจดจำการใช้งานที่้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมได้ สามารถจดจำสถานการณ์ และนำไปสู่การใช้งานที่มีเป้าหมายแตกต่างกันอย่างง่ายดาย เป้าหมายหลัก คือ ลดความซับซ้อนและเป็นชี้นำมนุษย์ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก ในระดับนี้นั้นมนุษย์ยังคงรับหน้าที่ตัดสินใจและรับผิดชอบทุกขั้นตอนเช่นเดียวกัน

  • ระดับ 2 มีการทำงานอัตโนมัติในบางภาคส่วน
    เป็นการทำงานอัตโนมัติในกิจกรรมที่มีความเรียบง่าย เน้นการใช้งานในบางขอบเขตของงานที่มีความจำเพาะเพื่อขยายศักยภาพภายในระยะเวลาที่จำกัด ระบบจะถูกแนะนำโดยมนุษย์ผู้รับผิดชอบซึ่งมีหน้าที่ควบคุมผลลัพธ์ ผู้ควบคุมงานต้องมีประสบการณ์ ความรู้ ต้องวางเป้าหมายให้ระบบและสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นต้องให้ชัดเจน รวมถึงเบื้องหลังคำสั่งต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน

  • ระดับ 3 มีการใช้ระบบอัตโนมัติแบบจำกัด
    ผู้ควบคุมต้องกำหนดขอบเขตที่อนุญาตให้ AI สามารถควบคุมและดำเนินกระบวนการได้อัตโนมัติ ระบบจะถูก Monitor สภาพแวดล้อมโดยอิสระภายใต้ขอบเขตที่กำหนด เมื่อมีกาติดตามกระบวนการผลิตแบบ Real-Time ความผิดพลาด รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ จะถูกตรวจพบได้ หาก AI จดจำรูปแบบได้จากขั้นตอนการเรียนรู้จะสามารถดำเนินการกึ่งอัตโนมัติเพื่อจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง เช่น กรณีที่ระบบเปิดการหยุดการทำงานฉุกเฉิน หรือปรับให้โรงงานอยู่ภายใต้ระบบความปลอดภัย หากเกิด Overload ขึ้นในระบบ ระบบกึ่งอัตโนมัตินี้ไม่เพียงเพิ่ม Flow แต่ยังคงลด Downtime เช่นเดียวกับปัญหาและความผิดพลาดที่จะถูกค้นพบล่วงหน้า หรือสำรวจการมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคคลได้อีกด้วย ทำให้ยกระดับเศรษฐศาสตร์ของวัตถุดิบ ทรัพยากร และการเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ หน้าที่ของมนุษย์ คือ การยืนยันโซลูชันในสถานการณ์จำเพาะเพื่อสนับสนุนสถานการณ์ที่มีความเฉพาะตัว เช่น เมื่อมีสัญญาณเตือนดังขึ้น เป็นต้น

  • ระดับ 4 ระบบทำงานได้อัตโนมัติและประยุกต์ได้
    การมีส่วนร่วมในระดับ 4 ระบบจะทำหน้าที่แบบ Adaptive หรือมีการปรับตัวแบบอัตโนมัติในขอบเขตที่ใหญ่มากขึ้น เช่น การทำงานในศูนย์ควบคุม สามารถทำงานได้อัตโนมัติและปรับตัวเข้ากับขอบเขตของระบบ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพตัวเองผ่านการเรียนรู้และการกำหนดเป้าหมาย ยกระดับความสามารถในการคาดการณ์และการแก้ไขปัญหาได้ การ Optimize ยุทธศาสตร์การผลิตด้วยตัวเองนั้นเป็นพื้นฐานของการใช้ข้อมูลสำคัญภายใต้ขอบเขตที่ถูกระบุไว้โดย Algorithm มนุษย์มีหน้าที่ติดตามและเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อตอนเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หากมนุษย์ไม่ได้เข้ามาส่วนร่วม ระบบจะทำการดูแลสถานการณ์ที่หลากหลายนั้นด้วยความคิดตัวเองว่าสิ่งใดถูกต้อง

  • ระดับ 5 ระบบอัตโนมัติในการทำงานทุกภาคส่วน
    ทุกระบบและทุกภาคส่วนสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง มีการบริหารจัดการตัวเอง การปรับตัวตามสถานการณ์ สร้างโซลูชันที่เหมาะสม สามารถทำงานรว่มกันได้แม้จะเกิดการผันผวนภายใน แต่ยังคงอยู่ภายใต้ขอบเขตของระบบที่กำหนดไว้ ระดับการทำงานนี้ไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์มาเกี่ยวข้อง การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับระบบจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป


    ขอบคุณข้อมูลโดย MODERN MANUFACTURING
    ขอบคุณรูปภาพโดย SHUTTER STOCK


    บทความน่าสนใจ
    ‘หุ่นยนต์นิ่ม’ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติเดินได้
    หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์